วารสารบริหารรัฐกิจ สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายละเอียดของบทความ
วารสารบริหารรัฐกิจ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน 2566

ชื่อเรื่อง (th) : ประวัติศาสตร์พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย
ชื่อเรื่อง (en) : History of the development of the Thai constitution

ชื่อผู้แต่ง (th) : ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว
ชื่อผู้แต่ง (en) : Yutthasart Norkaew
PDF
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้ มุ่งทบทวนพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย นับตั้งแต่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญเข้ามายังดินแดนสยามในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นกระแส ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งก่อกาเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกในช่วงหลังจาก “การปฏิวัติสยาม 2475” และปรากฏถึงพัฒนาการ มาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2560 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่ประกาศบังคับ ใช้รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ ผ่านบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่าง เป็นพลวัต ไม่ว่าจะเป็นยุคขุนศึกศักดินา ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ยุคประชาธิปไตยฉบับประชาชน และ ยุคประชาธิปไตยต่างสีเสื้อ ทาให้ทราบได้ว่ารัฐธรรมนูญไทยมีรากฐานมาจากการปฏิวัติ รัฐประหาร การยกร่าง โดยประชาชน การยกร่างโดยฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงการยกร่างโดยผู้มีอานาจหรือกองทัพผ่านองค์กรนิติบัญญัติ เพื่อมุ่งการสืบทอดอานาจผ่านกลไกตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การกลับไปศึกษาทบทวนถึงประวัติศาสตร์ของ รัฐธรรมนูญไทย จึงเป็นการย้อนพิจารณาบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่าง ดี อีกทั้งยังนาไปสู่การวิเคราะห์ ทานาย และคาดการณ์ถึงลักษณะของรัฐธรรมนูญไทยในอนาคตได้อย่าง เป็นรูปธรรมอีกด้วย คาสาคัญ: รัฐธรรมนูญ, การปฏิวัติ, รัฐประหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ
Abstract
This article Aiming at reviewing the development of the Thai Constitution Since the influence of constitutional ideas came to the land of Siam during the reign of King Mongkut (King Rama IV) onwards, which is considered an international political trend that has been widely discussed and criticized around the world. During that time until the creation of the first constitution in the period after "Siamese Revolution 1932" and appears to have developed continuously. Throughout the period between 1932 and 2017, Thailand had a total of 20 constitutions enacted through a dynamic social, economic, and political context. Whether it is the feudal warlord era half-democracy era People's Democratic Era and the democratic era with different colors of shirts, this makes it known that the Thai Constitution has its roots in a revolution, a coup, and drafting by the people. Drafting by the legislature includes drafting by officials or the military through legislative bodies, in order to focus on the succession of power through constitutional mechanisms. Therefore, revisiting the history of the Thai constitution allows us to thoroughly reconsider the social, economic, and political contexts of each era. It also leads to a concrete analysis, prediction, and prediction of the nature of the Thai Constitution in the future. Keywords: Constitution, Revolution, Coup d'etat, Legislature
บรรณานุกรม

ภาษาไทย

กิจบดี ก้องเบญจภุช. (2553). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย รามคาแหง. จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2557). กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ธนภัทร (2006) พริ้นติ้ง. ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน. ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. นรนิติ เศรษฐบุตร. (2558). รัฐธรรมนูญไทยกับการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2558). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : ความเป็นมาและสาระสาคัญ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า. โภคิน พลกุล. (2531). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์พลชัย. มนตรี รูปสุวรรณ. (2543). กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง. มานิตย์ จุมปา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว. (2565). การบริหารการเมืองรูปแบบไทย ในปี พ.ศ. 2540-2560: ผลผลิตการปฏิรูป การเมืองในวังวนประชาธิปไตยเชิงประชานิยม. สานักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย: ปี้แอนด์น้อง. ศักดิภัท เชาวน์ลักษณ์สกุล และยุพา ปราชญากูล. (2561). รัฐประหารกับการเมืองไทย. วารสารบริหารธุรกิจ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 1(3), 17-34. ศาสตรินทร์ ตันสุน. (2557). ในความเหมือนและความต่างกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 31-56. สนธิ เตชานันท์. (2518). แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดาริ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม. _______. (2545). แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดาริ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า. สากล พรหมสถิต. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.