วารสารบริหารรัฐกิจ สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายละเอียดของบทความ
วารสารบริหารรัฐกิจ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน 2564

ชื่อเรื่อง (th) : การปฏิรูปกองทัพไทย: แนวทางการสร้างระบบทหารอาชีพกับการลดบทบาทกองทัพภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน
ชื่อเรื่อง (en) : Reform of the Thai Royal Armed Forces: Guidelines for Constructing a System of Military Professionalization and Reducing the Role of the Royal Thai Armed Forces Under the Control of the Civil Government

ชื่อผู้แต่ง (th) : ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว
ชื่อผู้แต่ง (en) : Yutthasart Norkaew
PDF
บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางการสร้างระบบทหารอาชีพโดยสมบูรณ์ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือนในประเทศไทย ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้ารวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างระบบทหารอาชีพจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัย บทความวิชาการ บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ รวมถึงข่าวสารจากสื่อต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นผลการศึกษาและจัดทำเป็นบทสรุปต่อไป

ผลการศึกษา พบว่า การสร้างระบบทหารอาชีพโดยสมบูรณ์ภายใต้ความสมัครใจของพลเรือนในการเข้ารับราชการทหารเป็นส่วนหนึ่งของการลดบทบาทกองทัพให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน ซึ่งต้องมีการแบ่งแยกภารกิจหลักของพลเรือนออกจากกองทัพอย่างเป็นเอกเทศ โดยการควบคุมด้วยกลไกระบบสายบังคับบัญชาภายใต้เงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญผ่านการกำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการบัญชาการระหว่างรัฐบาลพลเรือนและกองทัพอย่างเข้มงวด เพื่อเป็นการป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองของผู้มีส่วนได้เสียทั้งมวล อีกทั้งยังเป็นการลดอิทธิพลของทหารลงอีกทางหนึ่งด้วย ส่งผลทำให้กองทัพไม่สามารถหาโอกาสและช่องทางสำหรับก่อการรัฐประหารได้สำเร็จอย่างที่เคยปรากฏผ่านมาในอดีตทั้งนี้ การสร้างระบบทหารอาชีพอันจะนำไปสู่การลดบทบาทกองทัพภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน มีความจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ โดยสรุปออกมาได้ 4 แนวทาง ดังนี้

แนวทางแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเกณฑ์ทหาร โดยควรมีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 50 อนุมาตรา 5 ซึ่งมีข้อความที่มุ่งหมายบังคับให้บุคคลเข้ารับใช้ชาติโดยไม่สมัครใจ ถือเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและควรมีการยกเลิกพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเกณฑ์ทหารทุกกรณีอันจะนำไปสู่การสร้างระบบทหารอาชีพโดยสมบูรณ์ในประเทศไทยได้

แนวทางที่สอง การสร้างฐานอำนาจถ่วงดุลภายในกองทัพโดยการเคลื่อนย้ายกำลังพลออกจากพื้นที่ศูนย์กลางอำนาจการปกครองกระจายไปยังส่วนภูมิภาค ถือเป็นการป้องปรามการรัฐประหารในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังทำให้หน่วยกำลังพลส่วนภูมิภาคเกิดการแข่งขันระหว่างกันทางด้านการเตรียมความพร้อมของกำลังพลภายใต้การบังคับบัญชาของตน อีกทั้งยังเอื้อต่อการสร้างระบบทหารอาชีพอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการเกณฑ์ทหารเข้ากองประจำการอีกด้วย

แนวทางที่สาม การสร้างวัฒนธรรมการเมืองภาคพลเรือนเหนืออิทธิพลของกองทัพ ซึ่งฝ่ายการเมืองและกองทัพต้องร่วมมือกันสร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นค่านิยมใหม่ทางการปกครองขึ้นมา รวมทั้งต้องมีการระบุไว้อย่างชัดแจ้งภายในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำให้เกิดการควบคุมกองทัพตามสายบังคับบัญชาที่เข้มงวดเพิ่มมากขึ้นภายใต้แนวทางการส่งเสริมการยอมรับวัฒนธรรมการเมืองภาคพลเรือนเหนือนำกองทัพอย่างมีบูรณภาพจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกองทัพไทย

แนวทางที่สี่ การลดบทบาททางการเมืองของนายทหารระดับสูงชั้นนายพลที่เกษียณอายุราชการในกองทัพ โดยปัจจัยหนึ่งที่กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญในการเข้ายึดอำนาจของคณะรัฐประหารในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากการได้รับแรงหนุนหลังภายใต้เงาลายพรางของรุ่นพี่โรงเรียนนายร้อยทหาร ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งชั้นนายพลในกองทัพแม้ว่าจะเกษียณอายุราชการไปแล้วก็ตาม ถึงกระนั้น อำนาจและอิทธิพลที่ตนเคยมีกลับไม่ได้ยุติลงไปด้วย แต่ทว่ายังสามารถสร้างฐานบารมีและบทบาททางการเมืองของตนได้อย่างต่อเนื่อง จากการเข้ามาดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐวิสาหกิจต่างๆ นอกจากนี้ ในกรณีล่าสุดยังปรากฏบทบาทในรัฐสภาผ่านการคัดเลือกเข้าไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ในปี พ.ศ. 2562 ทำให้การสร้างระบบทหารอาชีพโดยสมบูรณ์และการควบคุมกองทัพภายใต้รัฐบาลพลเรือนเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้ามาแทรกซึมอยู่ภายในหน่วยงานต่างๆ และยังคงคอยให้การสนับสนุนการมีอยู่ของกองทัพขนาดใหญ่ จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการลดบทบาททางการเมืองของนายทหารระดับสูงชั้นนายพล โดยการออกกฎหมายห้ามดำรงตำแหน่งในทุกหน่วยงานหรือองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนภายหลังจากเกษียณอายุราชการไปแล้วทุกกรณี

คำสำคัญ: การปฏิรูปกองทัพ; กองทัพไทย; ระบบทหารอาชีพ; รัฐบาลพลเรือน

 

   


Abstract

This academic article aims to study guidelines for constructing a complete system of professionalizing the military [or military professionalism] under the control of the civilian government in Thailand. The article was conducted by investigating academic books, academic research papers, academic articles, and news made available via various media and complying those documented information with the concept on the construction of military professionalism. The data collection was then analyzed to reveal its results and draw further conclusions.

The results of this study revealed that the construction of military professionalism under the willingness [or propensity] of civilians to serve in the military is an essential part of the reduction of the military's role under the control of the civilian government. Not only there should be a total separation of the civilians’principle missions from the military ones, but also there should be a mechanism effectively established for the civilian control of the military in accordance with the provisions of the Constitution relating to a functional chain of command between the civilian government and the military. These will devise a method [or a system] of preventing political interference from all stakeholders involved in [a majority of] military coups that had occurred in the past period. 

That’s to say, the guidelines for constructing a complete system of the construction of military professionalism leading to a reduction in the role of the Thai armed forces under the control of the civil government need to place reliance on 4 supporting factors that can be summarized as follows: 

The first approach is to amend the Constitution and the Act in respect of military conscription. The amendment should be made under Section 50and Sub-Section 5 prescribed as a person who is forced to serve in the armed forces without their voluntary enlistment. Such a clause can be accounted for a deprivation of the basic human rights of Thai citizens embedded in the constitutional provisions. Thus, any constitutional provisions stipulated in the military conscription should be abolished, leading to constructing a complete system of the military professionalism in Thailand as well. 

The second approach is to establish a power base for counterbalancing the armed forces by virtue of mobilizing security personnel from the areas of centralized control to the regional areas [of decentralized execution]. It is considered a determinant of future military-led coups and a spectrum of the troops or military staff in competition with a state of preparedness under military chains of command. It also facilitates constructing a complete system of military professionalism without the conscription.

The third approach is to create a political culture of civilian sector over military influence. Both the political and military parties should make a collaborate effort to formulate rules on any new administrative values that shall be explicitly stipulated in the Constitution.This will enable to take strict control of the armed forces in accordance with the military chains of command by virtue of promoting awareness of a political culture of civilian sector over military influence. With this respect, all parties should behave with integrity in the reform of the Thai Armed Forces.

The fourth approach is to reduce the political role of high ranking officers and retired Army generals. The contributory factor of staging the coup in Thailand was mostly driven in support of a group of retired Army generals who used to hold a senior position in Royal military cadet academy. Thus far, they still exercise their political influence from holding higher positions in state-owned enterprises. In addition, the retired people have the roles to play in parliament as senators appointed by the National Council for Peace and Order (NCPO) after the general election in 2019. It is more difficult to construct a complete professional military system and control the army under a civilian government. Since a group of these people has infiltrated into every government organization or agency and continues to support the existence of a large military organization. It is therefore expedient to reduce the political role of a senior military officer by enacting a law rectified in the prohibition of not being a person holding any position in whether private or public agencies as well as organizations

Keyword: Army Reform; Thai Army; Military Professionalism System; Civilian Government


บรรณานุกรม

ทวี แจ่มจรัส. (2562). การเป็นทหารอาชีพของไทยกับพฤติกรรมประชาธิปไตยของทหาร. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1733824

ทวี แจ่มจรัส และคณะ. (2562). บทบาทของนายทหารบกระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2).

ทวีศักดิ์ เกิดโภคา. (2561). อาจารย์โรงเรียนนายร้อยเสนอปรับหลักสูตรเน้นการสอนทหารใหม่ให้คิดเป็น วางรากฐานประชาธิปไตย. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2563, จาก https://prachatai.com/journal/2018/09/78674

ไทยรัฐออนไลน์. (2557). ตรวจแถวทหาร-เช็กขุมกำลังปฏิวัติ!!!. 15 มกราคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/content/394160

ธวัชชัย ผลสะอาด. (2560). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑทหารและการจัดการกําลังสํารอง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(2).

พลอย ธรรมาภิรานนท์. (2560). พลเรือนควบคุมทหาร : หนทางสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.the101.world/civilian-control-of-the-military/

มติชนออนไลน์. (2562). ก.ห.ตั้งโต๊ะแถลง ความจำเป็นต้องมีเกณฑ์ทหาร วอนพรรคการเมือง อย่ายกเป็นนโยบาย. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_1382520

รัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: รัฐสภา.

ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). กระบวนการสร้างประชาธิปไตยผ่านการปฏิรูปกองทัพและการสร้างความปรองดองใน ประเทศอินโดนีเซีย. วารสารการบริหารปกครอง, 6(1).

ศิวัช ศรีโภคางกุล และเทอดศักดิ์ ไป่จันทึก. (2560). การเกณฑ์ทหารกับการทรมาน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อทหารเกณฑ์ในประเทศไทย: บทวิเคราะห์จากมุมมองหนังสือรัฐศาสตร์ไม่ฆ่า. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(2).

ศุภณัฐ บุญสด. (2561). การควบคุมทหารโดยพลเรือนในระบบกฎหมายไทย. วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์, 1(1).

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ. (2561). การออกแบบระบบการศึกษาทางทหารของไทยใหม่เพื่อการผลิตทหารอาชีพและการปฏิรูปกองทัพ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 5(1).

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ และชัญญาพัทธ์ วิพัฒนานันทกุล. (2559). ระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยสหรัฐอเมริกากับปรัชญาและ “หัวใจ” ของการผลิตทหารอาชีพ, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 3(1).

สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). เสนาธิปไตย: รัฐประหารกับการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งแรก, สำนักพิมพ์มติชน.

_______. (2561). จะปฏิรูปทหาร ต้องสร้างทหารอาชีพ จะสร้างทหารอาชีพ ต้องปฏิรูปทหาร. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2563, จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_118912

สำนักข่าวช่อง One 31. (2563). ‘บิ๊กตู่’ ชี้เกณฑ์ทหารเลื่อนกระทบกำลังพลอาจไม่พอ. สืบค้นวันที่ 20 มีนาคม 2563, จาก https://www.one31.net/news/detail/19626

BBC News Thai. (2562). อภิรัชต์ คงสมพงษ์: ชี้นักธุรกิจการเมือง นักวิชาการฝักใฝ่คอมฯ “คุกคามความมั่นคง”. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-50009884

_______. (2563). สื่อญี่ปุ่นชี้ "นายพลไทย" ล้นกองทัพ ชาติอื่นใช้ "นายพัน" ทำหน้าที่เดียวกัน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-50961210

References

Bamrungsuk, S. (2015). Militocracy: Military Coup and Thai Politics. First print, Matichonbook.

_______. (2018). To reform the military, you must create a professional soldier Will create a professional soldier Need to reform the military. Retrieved january 10, 2020 from https://www.matichonweekly.com/column/article_118912

BBC News Thai. (2019). Apirat Kongsompong: points out of political businessmen Computer-focused academics "Threats to security". Retrieved january 15, 2020 from https://www.bbc.com/thai/thailand-50009884

_______. (2020). Japanese media pointed out that "Thai generals" are overflowing, other nations use "colonels" to do the same duty. Retrieved january 10, 2020 from https://www.bbc.com/thai/thailand-50961210

Boonsod, S. (2018). Civilian Control of the Military in Thailand’s Legal System. Songklanakarin Law Journal, 1(1).

Croissant, A. & Kuehn, D. (2009). “Patterns of Civilian Control of the Military in East Asia's New Democracies”. Journal of East Asian Studies, 9(2).

Faulder, D. (2019). Thailand: Land of a thousand generals. Retrieved january 10, 2020 from https://asia.nikkei.com/Politics/Thailand-Land-of-a-thousand-generals

Finer, S.E. (1962). The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics. London: Pall Mall.

Huntington, S.P. (1957). The Soldier and the State: The Theory and Politics of Civil-Military Relations. London: Harvard University Press.

Jamjumrus. (2018). Military occupation in Thailand and democratic behavior of soldiers. Retrieved january 15, 2020 from https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1733824

Jamjumrus, T. & Team. (2018). Role of Middle Commissioned Army Officers who influence on Changing of Thai Politics. Journal of the Association of Researchers, 23(2).

Kerdpoka, T. (2018). The Cadet School teacher proposed a curriculum focusing on teaching new soldiers to think of Lay the foundation of democracy. Retrieved january 15, 2020 from https://prachatai.com/journal/2018/09/78674

Levi, M. (1996). The Institution of Conscription. Social Science History, 20 (1).

Matichon Online. (2019). The Ministry of Defense spoke, The need for military service Requesting a political party Don't make it a policy. Retrieved january 15, 2020 from https://www.matichon.co.th/politics/news_1382520

News Agency, Channel One 31. (2020). 'Big Tu' indicated that the recruitment of soldiers was not enough. Retrieved March 20, 2020 from https://www.one31.net/news/detail/19626

Ngamcachonkulkid, S. (2018). Redesigning the Thai Military Education System to Produce Professional Military Officers and Support Military Reform. CRMA Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1).

Ngamcachonkulkid, S. & Wipattananantakul, C. (2016). The US Army Cadet Education System and the Philosophy and Essence of Training Professional Sodiers. CRMA Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1).

Nikkei Asian Review. (2019). Thailand: Land of a thousand generals. Retrieved january 10, 2020 from https://asia.nikkei.com/Politics/Thailand-Land-of-a-thousand-generals

Osuna, José Javier Olivas. (2012). Civilian Control of the Military in Portugal and Spain: a Policy Instruments Approach. A thesis submitted to the Department of Government of the London School of Economics for the degree of Doctor of Philosophy, London.

Parliament. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand (B.E. 2560 (2017)). Bangkok: Parliament.

Polsa-at, T. (2017). Measures Relation to Conscriptionand Reserve Force Management. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2).

Scupham, W. (2014). Friend, fellows, citizens and soldiers: The evolution of French revolution army, 1792-1799,” Primary Source 5,1. Retrieved january 20, 2020 from http://www.indiana.edu/~psource/PDF /Current%20Articles/ Fall2014/4%20Scupham% 20Fall%2014.pdf

Shibata, B. (2002-2003). The Spirit of Civilian Control Over the Military: Lessons from the United States Constitution, Ritsumeikan law review, (19).

Sripokangkul, S. (2017). Democratization by Military Reform and Reconciliation in Indonesia. Governance Journal, 6(1).

Sripokangkul, S. & Paijuntuek, T. (2017). Military Draft: Torture and Human Rights Violations towards Draftees in Thailand: A Critique from a Non-Killing Global Political Science Perspective. CMU Journal of Law and Social Sciences, 10(2).

Thairath Online. (2014). Check out the military line - Check out the revolutionary forces !!!. Retrieved january 15, 2020 from https://www.thairath.co.th/content/394160

Thammapiranon, P. (2017). Civilians control the military: the road to stable democracy. Retrieved january 15, 2020 from https://www.the101.world/civilian-control-of-the-military/

Trinkunas, H.A. (2005). Crafting civilian control of the military in Venezuela: a comparative perspective. Chapel Hill: University of North Carolina Press.