วารสารบริหารรัฐกิจ สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายละเอียดของบทความ
วารสารบริหารรัฐกิจ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2566

ชื่อเรื่อง (th) : องค์ประกอบของทุนทางเศรษฐกิจท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเรื่อง (en) : Components of Local Economic Capital of Community Enterprises to Upgrade the Local Economy Samut Songkhram Province

ชื่อผู้แต่ง (th) : ชุมพล รอดแจ่ม และบุญชาญ ผ่านสุวรรณ
ชื่อผู้แต่ง (en) : Chumpon Rodjam & Boonchan Phansuwan
PDF
บทคัดย่อ
บทความวิชานี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทุนทางเศรษฐกิจท้องถิ่นของวิสาหกิจ ชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม โดยองค์ประกอบมาจากการศึกษาความรู้ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากเอกสารและงานวิจัย ทั้งนี้ทุนทางเศรษฐกิจท้องถิ่นหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี อิสระและมีขีดความสามารถในการริเริ่มกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นได้มากกว่าที่เป็นอยู่กิจกรรม ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นจะมีความหลากหลายและสอดคล้องกับองค์กรชุมชนบริหารจัดการและ วางแผนแม่บทพัฒนาชุมชนด้วยตนเองสร้างทุนของชุมชนหรือกองทุนชุมชนหลากหลายรูปแบบ เป็น หลักประกันความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชนธุรกิจชุมชนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจด้านการบริการชุมชน สถาบันการเงินของชุมชน เน้นหลักการมีส่วนร่วมและกระจายผลประโยชน์ควบคู่ ไปกับการสร้างสังคมสวัสดิการที่เกิดจากสมาชิกชุมชนร่วมมือสร้างขึ้นเรียกว่า ระบบประชาสวัสดิการเศรษฐกิจ ชุมชนมาจากฐานกากรผลิตที่หลากหลาย เป็นองค์รวมด้านปัจจัยสี่ที่ตอบสนองตลาดในชุมชนเป็นใหญ่ปรัชญา ของการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมที่ยั่งยืนแนวทางนี้ ทาให้ระบบทุนของชุมชน วิสาหกิจ ชุมชน สถาบันการเงิน และเศรษฐกิจชุมชนแตกต่างกันแนวคิดของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของรัฐและแนวคิดที่เอาชุมชนไปขึ้นต่อ ระบบทุนนิยม ดังนั้นคณะผู้เขียนบทความได้สังเคราะห์ตัวแปรออกเป็น 4 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านทุนทางกายภาพ องค์ประกอบที่ 2 ด้านทุนสินทรัพย์ทางการเงิน องค์ประกอบที่ 3 ด้านทุนภูมิปัญญา วัฒนธรรม และองค์ประกอบที่ 4 ด้านทุนทรัพยากรมนุษย์ คาสาคัญ: ทุนทางเศรษฐกิจท้องถิ่น, วิสาหกิจชุมชน, ท้องถิ่น
Abstract
The objectives of this article are: To study the composition of local economic capital of community enterprises to upgrade the local economy Samut Songkhram Province. The components come from the study of knowledge, concepts, and related theories from papers and research However, if local economic capital is more independent and capable of initiating activities for local economic development than it is now, local economic development activities will be diversified and consistent with community organizations. Manage and plan your own community development master plan, create community grants or a variety of community funds. It is a guarantee of economic equality and human rights for all types of community businesses, whether they are community enterprises. Community Service Business Community financial institution Emphasis on the principle of participation and distribution of benefits in parallel with the creation of a welfare society created by community members. The community economic welfare system comes from a variety of production bases. It is a holistic aspect of the four factors that respond to the market in the community as the philosophy of sustainable holistic community development. Causing the capital system of communities, enterprises, communities, and financial institutions and the community economy differs from the concept of state community enterprise development and the idea that the community is based on capitalism. Therefore, the authors of the article have synthesized the variables into 4 components as follows: Component 1 Physical Capital Component 2 Financial Asset Capital Component 3 is cultural wisdom capital and Component 4 is human resource capital. Keywords: local economic capital, community enterprise, local
บรรณานุกรม
ภาษาไทย กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่ามะโอ อาเภอเมือง จังหวัดลาปาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 131-148. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. (2562). คู่มือพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการท่องเที่ยวในชุมชน. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน คะนอง พิลุน. (2562). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น. มหาสารคาม: วิทยาลัย การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2560). ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฌัชชภัทร พานิช. (2558). ยุทธศาสตร์การจัดการระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎิบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ฐาปนี เลขาพันธ์. (2557). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตาบลดงขี้เหล็ก อาเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และ สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ธนาคารไทยพาณิชย์, ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ. (2560). ทาธุรกิจท่องเที่ยวเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลง กับ 3 กระแสแรงแห่งยุค ที่ยากจะต้าน. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564, จาก https://www.scbeic.com/th ปริมรัตน์ แขกเพ็ง. (2551). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ชนบท. กรุงเทพมหานคร: สานักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. พิชชา บัวแย้ม, ประสงค์ ตันพิชัย และสันติ ศรีสวนแตง. (2560). การดารงอยู่ของทุนทางสังคมในชุมชนลุ่มน้า มูลตอนล่าง: กรณีศึกษาตาบลโพธิ์ศรี อาเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. Veridian EJournal, Silpakorn University, 10(2). พจนา สวนศรี และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่ : สถาบันการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I). มนรัตน์ ใจเอื้อ. (2559). รูปแบบการตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม:ชุมชนบางหลวง ตาบล บางหลวง อาเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 12(3), 12-24. วราภรณ์ เชื้ออินทร์. (2555). แนวคิดการจัดการการศึกษาหลังปริญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ศรีนครินทร์ เวชสาร, 27(1), 77-93. ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (2558). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.