วารสารบริหารรัฐกิจ สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายละเอียดของบทความ
วารสารบริหารรัฐกิจ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2566

ชื่อเรื่อง (th) : รูปแบบการพัฒนาระบบวิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัย
ชื่อเรื่อง (en) : A Model for the Development of Participatory Fire Protection and Suppression Engineering Systems

ชื่อผู้แต่ง (th) : พระสุธีรัตนบัณฑิต และณ. พงษ์ สุขสงวน
ชื่อผู้แต่ง (en) : Phra Suthirattanabundit & Norpong Suksanguan
PDF
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาระบบวิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบมีส่วนร่วม เรียกว่า Normal Safety of Life by Technology & Knack ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) ปัจจัยนาเข้า ประกอบด้วย ระบบ วิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัยขององค์กรธุรกิจในสังคมไทย กับ องค์ประกอบของการพัฒนาระบบ วิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบมีส่วนร่วม (2) การแปลงปัจจัยนาเข้า คือ NORTEK model มีทั้งหมด 4 กระบวนการ และ 30 วิธีการ (3) ผลผลิต คือ NOR: Normal safety of life, T: Technology, EK: Education & Knack ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการของรูปแบบการพัฒนาระบบวิศวกรรมป้องกันและระงับ อัคคีภัยแบบมีส่วนร่วม เป็นการดาเนินการที่มีส่วนร่วมในกระบวนการของรูปแบบการพัฒนาทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การออกแบบกระบวนการของรูปแบบการพัฒนา การจัดกระบวนการของรูปแบบการพัฒนา และการ ประเมินผลการจัดกระบวนการของรูปแบบการพัฒนา เพื่อตอบสนองหรือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ลักษณะของ กระบวนการเรียนรู้ที่ยึดระบบวิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัยเป็นศูนย์กลางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต บริบทสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของระบบวิศวกรรมป้องกัน และระงับอัคคีภัย กระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยกระตุ้น แสวงหาความรู้ เกิดความใฝ่รู้ เรียนรู้ รวมทั้งไม่ตัดสินสิ่งต่าง ๆ จากปรากฏการณ์ที่เห็นก่อนที่จะคิดใคร่ครวญถึงสาเหตุ ที่มาที่ไป และปัจจัยเงื่อนไข ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อระบบวิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัยสามารถสร้างความรู้ขึ้นใช้เอง ได้ค้นพบสิ่งที่ เป็นความจริงด้วยตนเอง สามารถคิดด้วยความรู้สึกอิสระโดยปราศจากความกลัว (เกิดปัญญา) และกล้าที่จะ เปลี่ยนแปลงทั้งภายในได้แก่ ปริมาณความรู้ ความคิด ทัศนคติ ค่านิยม จิตสานึก เป็นต้น และภายนอก ได้แก่ พฤติกรรม ทักษะ และความชานาญ คาสาคัญ: รูปแบบ, การพัฒนา, ระบบวิศวกรรมป้องกันและระงับอัคคีภัย
Abstract
“Knack” This is due to the process of participatory fire protection engineering system development model. It is an action that participates in every step of the process of the development model. From the design process of the development model the organization of the process of the development model; and evaluation of the process organization of the development model. to meet or to achieve a goal Characteristics of the learning process based on the fire prevention and suppression engineering system as the center, the development of the learning process is a process that corresponds to the way of life, social context, environment and culture of the fire prevention and suppression engineering system. The process of creating change by stimulating the search for knowledge to be curious, to learn, as well as not to judge things from the phenomena seen before contemplating the causes, origins and conditions involved When the fire prevention and suppression engineering system can create its own knowledge have discovered the truth for themselves Able to think with a sense of freedom without fear (intellectual) and dare to change internally. The quantity of knowledge, thoughts, attitudes, values, consciousness, etc., and externally include behaviors, skills, and expertise. Keywords: Model, Development, Participatory Fire Protection and Suppression Engineering Systems
บรรณานุกรม
ภาษาไทย กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา. เพชรบูรณ์: กลุ่มมาตรฐานวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ชัยกฤต ยกพลชนชัย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดเพลิง ไหม้ในครัวเรือนบ้านบก อาเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38). ถนัดกิจ จันกิเสน. (2563). คาด ‘ไฟป่าออสเตรเลีย’ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 2.1 ล้านล้าน บาท, https://thestandard.co/wildfire-crisis-is-starting-to-hurt-australian-companies/, สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563 มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร. (2553). Dialogue: สุนทรียสนทนาฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จงเจริญเทพารักษ์ การพิมพ์. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). คู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัย สาหรับการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โกบอล กราฟฟิค. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน. (2563). Safety Thailand Safety Together. www.tosh.or.th2index.php/tosh-news/project/21-safety-thailand สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563. สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562) ประสิทธิผลของแหล่งการเรียนรู้: การเผยแพร่และการนามาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการสภา การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2554). ก้าวย่างต่อไปของ กศน. กรุงเทพฯ: ชุมพร พรินท์ แอนด์ ดีไซน์. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2558). การประเมินผลการฝึกอบรมบนพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์. ภาษาอังกฤษ Carroll L. Iwasiw. (2020). Curriculum development in nursing education. Burlington, MA: Jones and Bartlett. Lashley, Conrad. (2001). Empowerment HR Strategies for Service Excellence. Oxford; Boston: Butterworth – Heinemann.